เสน่ห์แห่งวัดภูมินทร์จะเป็นที่ไหนไปไม่ได้นอกจาก ภาพจิตรกรรมฝาผนังของ “ปู่ม่าน ย่าม่าน” ที่ได้ชื่อว่าเป็นภาพกระซิบรักบันลือโลก อันมีชื่อเสียงโด่งดัง ใครมาก็ต้องมาชมและขอถ่ายรูปเป็นที่ระลึก จุดเช็คอินไฮไลต์ที่สำคัญที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาด
วัดภูมินทร์สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2139 โดยพระเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ กษัตริย์แห่งราชวงศ์ภูคา ซึ่งเป็นราชวงศ์เก่าแก่ของเมืองน่าน จุดเด่นของวัดนี้คือการออกแบบอุโบสถที่ไม่เหมือนวัดใดในประเทศไทย เพราะเป็น “อุโบสถทรงจัตุรมุข” และรวมกับวิหารเป็นหลังเดียวกัน ตั้งอยู่บนฐานบัวคว่ำบัวหงายที่สง่างาม โดยแต่ละมุมของอาคารมีพญานาคคายนาคที่ทอดตัวลงบันได เป็นศิลปกรรมที่ผสมผสานกันอย่างลงตัวระหว่างศิลปะล้านนา ไทยลื้อ และสุโขทัย
กระซิบรักบันลือโลก ภาพจิตรกรรมที่โด่งดังที่สุดแห่งล้านนา
ภาพกระซิบรัก หรือที่หลายคนเรียกว่า “ปู่ม่านย่าม่าน” เป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถ ที่แสดงถึงชายหญิงชาวไทลื้อในอิริยาบถการกระซิบข้างหู โดยชายกำลังโน้มตัวกระซิบข้อความบางอย่างด้วยรอยยิ้มมีเสน่ห์ ส่วนหญิงสาวก็ยิ้มเขินอาย เป็นภาพที่ดูเรียบง่ายแต่เต็มไปด้วยอารมณ์และความหมาย จนได้รับการยกย่องให้เป็น “โมนาลิซ่าแห่งล้านนา”ภาพนี้มีชื่อเสียงอย่างมาก เพราะสะท้อนวิถีชีวิต วัฒนธรรม และความรักแบบพื้นบ้านได้อย่างลึกซึ้ง และยังได้รับการตีความมากมาย ทั้งในเชิงศิลปะ สังคม และปรัชญา
สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมที่โดดเด่น ได้แก่
- สถาปัตยกรรมอุโบสถจัตุรมุขเพียงหนึ่งเดียวในไทย สิ่งที่โดดเด่นที่สุดของวัดภูมินทร์คือ อุโบสถจัตุรมุข ซึ่งเป็นอาคารหลังเดียวที่ผสาน “อุโบสถ”และ “วิหาร” เข้าด้วยกัน และมีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย มีลักษณะเป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยม มีมุขยื่นออกไปทั้งสี่ทิศ ภายในประดิษฐาน พระพุทธรูปปางมารวิชัย 4 องค์ ประทับนั่งหันพระพักตร์ไปยังทั้งสี่ทิศ
- จิตรกรรมฝาผนัง “ปู่ม่านย่าม่าน” หนึ่งในจุดที่โด่งดังและดึงดูดผู้คนจากทั่วสารทิศก็คือ จิตรกรรมฝาผนังเรื่อง “ปู่ม่านย่าม่าน”หรือภาพชายหญิงชาวไทลื้อกำลังกระซิบกัน ภาพนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็น งานศิลปะที่แสดงความรักอย่างละเมียดละไม สื่อถึงวิถีชีวิต ความเชื่อ และวัฒนธรรมของชาวน่านในอดีต เกร็ดน่ารู้ : คำว่า “ปู่ม่านย่าม่าน” มาจากคำเมือง หมายถึง ชายหญิงชาวมอญหรือลื้อ ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในแถบล้านนา
- ศิลปะผสมผสานล้านนา–ไทยลื้อ วัดภูมินทร์สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2139 ในสมัยพระเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ มีการตกแต่งที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะล้านนา ผสมผสานกับศิลปะแบบไทลื้อที่ละเอียดอ่อน ประณีตทุกลวดลาย สื่อถึงความเจริญรุ่งเรืองของเมืองน่านในอดีต